วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชนิดของเบียร์

Beer styles

เบียร์ เป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตเบียร์ขายในประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด (ผู้ผลิตเบียร์สิงห์ในปัจจุบัน) แต่ที่น่าแปลกใจคือ ผู้ดื่มส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า เบียร์ ที่ดื่มกันอยู่นั้นเป็นเบียร์แบบไหน.....แต่จริงๆแล้วมันจำเป็นหรือเปล่า......เหตุผลของการดื่มอาจเป็นคำตอบที่เหมาะสมว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงไม่ทราบ....เรามักชอบดื่มเบียร์เพื่อการสังสรรค์ ดื่มระหว่างการพบปะ พูดคุยกับเพื่อนสนิท ทำให้บรรยากาศมันผ่อนคลายและสนุกสนาน เราจึงไม่ค่อยสนใจว่าเบียร์ที่ดื่มกันอยู่เป็นเบียร์แบบไหน ผมก็เป็นอีกคนที่เมื่อก่อนนั้นชอบบรรยากาศ มิตรภาพในวงเหล้ามากกว่าเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตามนักดื่มส่วนใหญ่ก็ให้ความสำคัญกับรสชาติของเครื่องดื่มอยู่เหมือนกัน เราจะสังเกตเห็นว่า เพื่อนเราบางคนชอบดื่มเหล้า บางคนชอบเบียร์ บางคนชอบลีโอ บางคนชอบสิงห์ ยิ่งไปกว่านั้นบางคนชอบเบียร์ลีโอที่ผลิตจากบริษัท ขอนแก่น บริวเวอรี่ จำกัด มากกว่าที่ผลิตจากบริษัท ปทุมธานี บริวเวอรี่ จำกัด เป็นต้น แต่ผมเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า เบียร์ที่ผลิตในประเทศไทยนั้น เป็นแค่หนึ่งในหลายชนิดที่มีอยู่


ถ้าจะจำแนกชนิดของเบียร์จริงๆก็ค่อนข้างยากพอสมควร ยิ่งทุกวันนี้มีการคิดสูตรเบียร์สูตรใหม่ๆ ขึ้นมาเยอะมาก และยังมีการผสมผสานเบียร์แต่ละชนิดเข้าด้วยกันเพื่อเสริมให้เบียร์ที่ได้มีความหลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น โดยทั่วไปเบียร์จะถูกแบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ๆ คือ Ale beer และ Lager beer ซึ่งแบ่งตามพฤติกรรมของยีสที่ใช้ในกระบวนการหมักเบียร์ โดย Ale yeast จะเกิดการหมักบริเวณผิวน้ำในถังหมัก ส่วน Lager yeast จะเกิดการหมักบริเวณก้นของถังหมัก แสดงดังภาพ



Lager Beer:
Larger beer เป็นเบียร์ที่หลายคนคุ้นเคย เนื่องจากเบียร์ที่ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น Lager beer นั้นเอง โดยเบียร์ชนิดนี้จะมีเนื้อเบียร์ (body) ที่บาง มีสีเหลืองทองใส มีปริมาณแคลลอรี่ต่ำ เหมาะกับการดื่มในเมืองร้อน และการดื่มนานๆ นั่นอาจเป็นสาเหตุว่าทำไมบริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทยถึงผลิต Lager beer เพราะมันเหมาะสมกับสภาวะภูมิอากาศบ้านเรา และเข้ากับพฤติกรรมการดื่มของคนแถบนี้นั่นเอง และเมื่อพิจารณา Lager beer ก็พบว่าสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกหลายชนิด โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้วัตถุดิบหลัก ที่ต่างกัน นั้นคือ มอลล์ ยีส ฮอป และน้ำนั้นเอง ตัวอย่าง Lager beer ที่เราคุ้นหูกันดีเช่น เบียร์สิงห์ ลีโอ ช้าง tiger beer Corona Beer lao Asahi San miguel เป็นต้น



Ale Beer:
Ale beer เป็นเบียร์ที่ไม่มีผลิตโดยบริษัทใหญ่ๆในประเทศไทยเลย ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น Hoegaarden Erdinger Leffe และ Paulaner เป็นต้น โดยเบียร์ชนิดนี้จะมีสีค่อนข้างขุ่นกว่าLarger beer เนื่องจากมีเนื้อเบียร์ที่ค่อนข้างหนากว่า และมีปริมาณแคลลอรี่ที่สูงกว่า ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำเบียร์ชนิดนี้ก็เหมือนกันกับ Lager beer ซึ่งแตกต่างกันเพียงชนิดของยีส ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

 อย่างไรก็ตามเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงวงการเบียร์ในเมืองไทย โดยพี่ชิต คุณวิชิต ซ้ายเกล้าแห่ง        ชิตเบียร์ โดยพี่ชิตและเพื่อนๆ ได้ร่วมมือกันผลักดันให้เกิด Craft beer ขึ้นในประเทศไทย ซึ่ง Craft beer ส่วนใหญ่จะเป็น Ale beer และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้มี Craft beer ไทยที่ถูกกฎหมายแล้ว หลายยี่ห้อด้วยกันเช่น Stone Head และ Chalawan เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Chalawan beer นั้นได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง Would Beer award 2016 ที่ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาแล้วเมื่อเร็วๆนี้

นอกจากนั้นยังมีการแบ่งชนิดของเบียร์โดยใช้หลักเกณฑ์อย่างอื่นด้วยเช่นเดียวกัน เช่นแบ่งตามสีของเบียร์ หรือแหล่งที่ผลิต เป็นต้น โดยภาพรวมของเบียร์ เราอาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นดังแผนภาพประกอบดังรูป


สำหรับเนื้อหาครั้งนี้ ผมแค่ต้องการปูพื้นให้กับคนที่สนใจเกี่ยวกับเบียร์ได้เห็นภาพกว้างๆ ว่าเบียร์ จริงๆแล้วมันมีอยู่เยอะแยะมากมาย ซึ่งผมมองว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ยังคงมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง และรอให้เราสัมผัสและลิ้มลอง สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องเบียร์อย่างจริงๆจังๆ สามารถหาอ่านได้ในเว็ปไซต์ต่างประเทศ ซึ่งจะมีอยู่มากมายและค่อนข้างครบถ้วน ส่วนตัวผมจะพยายามนำข้อมูลมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเบียร์เรื่อยๆครับ ศึกษาและเรียนรู้ไปด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น